วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แบบทดสอบ


1. ปีใดคือปีเป็นปีเป้าหมายที่ประชากรทุกคนของประเทศสมาชิกจะมีสุขภาพอนามัยที่ดีอย่างทั่วถึง ?
a.)  พ.ศ. 2521
b.)  พ.ศ. 2524
c.)  ค.ศ. 2000
d.)  ค.ศ. 2543

2. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ?
a.)  ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติ
b.)  ใช้เทคโนโลยี่ที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์
c.)  เป็นที่ยอมรับทั่วไป
d.)  ในทุกๆขั้นตอนของการพัฒนาไม่จำเป็นต้องมีการยอมรับฟังความคิดเห็นของคนในกลุ่ม

3. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ?
a.)  การป้องกันโรค
b.)  การส่งเสริมสุขอนามัย
c.)  การฟื้นฟูสภาพจิต
d.)  ถูกทุกข้อ

4. จังหวะ Cuban Rumba นิยมนับแบบใด ?
a.)  1,2,3-4
b.)  2,3,4-1
c.)  1,2,3,4
d.)  2,3,4,1

5. จังหวะ Cuban Rumba มีความเร็วกี่ห้องต่อนาที ?
a.)  25
b.)  26
c.)  27
d.)  28

6. จังหวะ Cuban Rumba ได้รับการขนานนามว่าอะไร ?
a.)  Queen of latin
b.)  King of latin
c.)  latin dance
d.)  dance of latin





เฉลย : 1-c.) , 2-d.) , 3-c.) , 4-b.) , 5-c.) , 6-a.)

จังหวะ Cuban Rumba


ประวัติความเป็นมา

          จังหวะคิวบันรัมบ้าได้นำเข้ามาสู่ประเทศอเมริกาโดยทาสชาวอัฟริกันตั้งแต่เมื่อราว ค.ศ. 1928-1929 การก้าวเท้าและรูปแบบการเต้นของจังหวะนี้ยังไม่ชัดเจนเลยที่เดียวคนส่วนใหญ่ทึกทักเอาการเต้นของจังหวะนี้เป็นการเต้นรูปแบบใหม่ของจังหวะ ฟอกซ์ทรอท ด้วยการเพิ่มการใช้สะโพกลงไปจนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะคิวบันรัมบ้าจึงได้รับการพัฒนาต่อไปให้เป็น โดย Monsieur Pierre และ Doris Lavell นักลีลาศชาวอังกฤษ ซึ่งมีโรงเรียนสอนอยู่ที่ถนน Regent ในมหานครลอนดอน แต่ก็ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร จนกระทั่งWalter Lird เริ่มเขียนตำราการลีลาศของจังหวะลาตินขึ้นผลงานของเขาได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากจากหลายองค์กรของการลีลาศ


องค์ประกอบทั่วไป

          จังหวะดนตรี      เป็นจังหวะประเภท 4/4คือมี4 จังหวะในหนึ่งห้องเพลง เสียงเน้นหนักที่
                                 จังหวะ 1 แต่ละจังหวะให้ค่าเท่ากับ 1
          ความเร็ว           27 ห้องเพลงต่อ 1 นาที
          การนับ             นิยมนับ 2,3,4-1 หรือ เร็ว เร็ว ช้า
          การก้าวเท้า      จะหนักหน่วง เคลื่อนที่ตามจังหวะ การเดินที่แข็งแรงและตรงทิศทาง


เอกลักษณ์เฉพาะของการเคลื่อนไหว

          เป็นจังหวะที่ค่อนข้างช้านุ่มนวล สวยงามและโรแมนติคน่าประทับใจแฝงด้วยลีลาที่ยั่วยวน กระตุ้นความรู้สึก ดูดดื่ม ยั่วเย้าและการผละหนีอย่างมีจริต จังหวะคิวบันนี้ความสำคัญอยู่ที่การเคลื่อนไหวสะโพก ซึ่งเกิดจากการควบคุมการโอนถ่ายน้ำหนักจากเท้าหนึ่งไปยังอีกเท้าหนึ่ง เมื่อเท้าใดเท้าหนึ่งรับน้ำหนักตัวสะโพกด้านนั้นจะเหวี่ยงออกไปในลักษณะหมุนเป็นวงกลม คิวบัน รัมบ้า ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ Queen of latin”


ฟิกเกอร์พื้นฐาน ประกอบด้วย

1. ทักษะเบื้องต้น  (Basic Movement)
2. การหมุนพร้อมกันทั้งชายและหญิง (Spot Turn)
3. นิวยอร์ค (New York)
4. โชลเดอร์ทูโชลเดอร์(Shoulder to Shoulder)
5. แฮนด์ทูแฮนด์ (Hand to Hand)


ตัวอย่างการเต้นจังหวะ Cuban Rumba 

ตัวอย่างการเต้นจังหวะ Cuban Rumba


การสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน (Primary health care)

           
            คือ การดูแลสุขภาพที่จำเป็นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติ โดยใช้เทคโนโลยี่ที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ และเป็นที่ยอมรับทั่วไปในสังคม เพื่อเป็นหลักการทั่วไปใช้ในการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล ครอบครัว และคนในชุมชน โดยผ่านการยอมรับของชุมชนและมีค่าใช้จ่ายในระดับที่ชุมชนยอมรับได้ ในทุกๆขั้นตอนของการพัฒนาต้องมีการยอมรับฟังความคิดเห็นของคนในกลุ่ม
            ในอีกความหมายหนึ่ง สาธารณสุขมูลฐานคือ การดูแลสุขภาพ ในระบบสาธารณสุข รูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้น การจัดการทรัพยากรทางสุขภาพโดยใช้เงื่อนไขของชุมชนเป็นสำคัญ


ประวัติความเป็นมา
            เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2525 องค์การอนามัยโลกได้เสนอความคิดขึ้นมาว่า หากจะให้ประชากรทุกคนในโลกหรือประชากรในประเทศมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นแล้ว งานสาธารณสุขจะต้องได้รับการส่งเสริม ให้ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ซึ่งในขณะนั้นก็ได้มีประเทศต่าง ๆ ได้เริ่มดำเนินการทำนองนี้แล้ว รวมทั้งประเทศไทยด้วย พร้อมกันนั้นประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลกได้มีมติให้ถือว่า ปี ค.ศ. 2000 หรือ พ.ศ. 2543 เป็นเป้าหมายที่ประชากรทุกคนของประเทศสมาชิกจะมีสุขภาพอนามัยดีอย่างทั่วถึง ซึ่งประเทศสมาชิกทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ได้ยอมรับเป้าหมายดำเนินงาน เมื่อเดือนกันยายน 2521 ได้มีการประชุมเรื่องการสาธารณสุขมูลฐานขึ้นที่เมืองอัลมาอตาประเทศรัสเซีย ที่ประชุมยอมรับหลักการว่า สาธารณสุขมูลฐาน เป็นกลวิธีที่เหมาะสมที่จะทำให้ประชากรทุกคนมีสุขภาพอนามัยดีอย่างทั่วถึงได้


องค์ประกอบ
โดยเป็นองค์ประกอบที่มีความเชื่อมโยงกับงานบริการสาธารณสุขพื้นฐาน (Basic Health Service) ซึ่งรัฐบาลได้เป็นผู้จัดให้แก่ประชาชนองค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐานของประเทศไทยนั้น มีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของประชาชน
องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐานดังกล่าวประกอบด้วยการบริการแบบผสมผสาน 4 ด้าน คือ
  • การป้องกันโรค
  • การส่งเสริมสุขภาพอนามัย
  • การรักษาพยาบาล
  • การฟื้นฟูสภาพ
ซึ่งสามารถแยกออกเป็นงานที่ประชาชนสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองออกเป็นงานต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 14 องค์ประกอบคือ

            1. งานโภชนาการ อสม. มีหน้าที่กระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาโภชนาการที่เกิดขึ้น เช่น โรคขาดสารอาหารในเด็ก 0-5 ชวบ หรือเด็กแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำเป็นต้น โดยร่วมมือกับกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำ กลุ่มแม่บ้าน ในการค้นหา สำรวจสภาวะอนามัยเด็ก ชั่งน้ำหนักเด็ก 0-5 ขวบ ทุกคนเป็นประจำ เมื่อพบเด็กคนใดที่ขาดสารอาหารก็ดำเนินการให้อาหารเสริมโดยเร็ว ให้ความรู้แก่แม่ในการให้อาหารแก่ทารก ตลอดจนส่งเสริมการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อนำมาเป็นอาหาร
            2. งานสุขศึกษา ให้สุขศึกษาในเรื่องต่าง ๆ เช่น ปัญหาสาธารณสุขของท้องถิ่น การร่วมกันแก้ไขปัญหา เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน
            3. การรักษาพยาบาล อสม. ให้การรักษาพยาบาลที่จำเป็นเบื้องต้นแก่ชาวบ้าน ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความสามารถของ อสม. ในการรักษาพยาบาล และชี้แจงให้ทราบถึงสถานบริการของรัฐ ตลอดจนส่งต่อผู้ป่วยถ้าเกินความสามารถของ อสม.
            4. การจัดหายาที่จำเป็น ดำเนินการจัดตั้งกองทุนยาและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน หรือจัดหายาที่จำเป็นไว้ให้บริการในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) และดำเนินการให้ประชาชนสามารถซื้อยาที่จำเป็นเหล่านี้จากกองทุน หรือ ศสมช. ได้สะดวก รวดเร็ว และมีราคาถูก
            5. การสุขภิบาลและจัดหาน้ำสะอาด อสม. ชี้แจงให้ประชาชน กรรมการหมู่บ้าน ทราบถึงความสำคัญของการจัดหาน้ำสะอาดไว้ดื่ม การสร้างส้วม การกำจัดขยะมูลฝอย และการจัดบ้านเรือนให้สะอาด เป็นต้น
            6. อนามัยแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว อสม. ชี้แจงและจูงใจให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญของการวางแผนครอบครัว ความจำเป็นของการดูแลก่อนคลอด (การฝากครรภ์) และการดูแลหลังคลอด นัดหมายมารดามารับบริการและความรู้ในการปฏิบัติตน การกินอาหาร ชั่งน้ำหนัก และวัดความดันโลหิต นัดเด็กมารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ
            7. งานควบคุมป้องกันโรคติดต่อในท้องถิ่น อสม. ชี้แจงให้ประชาชนทราบว่าในหมู่บ้านมีโรคอะไรที่เป็นปัญหา เช่น โรคอุจาระร่วง โรคพยาธิ ไข้เลือดออก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการป้องกันและรักษา รวมทั้งการร่วมมือกันในการดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดโรคระบาดขึ้นได้
            8. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อสม. ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญของการให้วัคซีนป้องกันโรคติดต่อ และนัดหมายเจ้าหน้าที่ออกไปให้บริการแก่ประชาชนตามจุดนัดพบต่าง ๆ
            9. การส่งเสริมสุขภาพฟัน อสม. ชี้แจงและให้ความรู้กับประชาชนถึงการดูแลฟัน การรักษาสุขภาพช่องปากและฟัน นัดหมายประชาชนให้มารับบริการในสถานบริการหรือเมื่อมีหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่เข้ามาในชุมชน
            10. การส่งเสริมสุขภาพจิต อสม. ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงการส่งเสริมสุขภาพจิต การค้นหาผู้ป่วยในระดับชุมชน เพื่อจะได้รับการแนะนำ การรักษาที่ถูกต้อง
            11. อนามัยสิ่งแวดล้อม อสม. ร่วมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงานอนามัยสิ่งแวดล้อมกับประชาชน ประชาชนทุกคนเฝ้าระวังมิให้มีการกระทำที่ก่อให้เกิดมลภาวะ องค์กรชุมชนร่วมกันวางแผนแก้ปัญหาของชุมชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ส่งเสริมและให้ความรู้เรื่องสารเคมีในการเกษตร แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการกับผู้กระทำผิด
            12. คุ้มครองผู้บริโภค อสม. ร่วมกับประชาชนสอดส่องดูแลพฤติกรรมของร้านค้า รถขายยาเร่ ฯลฯ หากพบเห็นผู้กระทำผิดกฏหมายก็แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการ อสม.ร่วมกันให้ความรู้แก่เพื่อนบ้านในการเลือกซื้อสินค้า เช่น อาหาร เครื่องปรุงรส ขนม เครื่องสำอางที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์ อย. มาใช้ ตลอดจนอาจจัดตั้งกลุ่ม ชมรม เพื่อร่วมมือประสานงานกันดูแลประชาชนในพื้นที่
            13. การป้องกันควบคุมอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคไม่ติดต่อ อสม. ร่วมกันค้นหาผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิต มะเร็ง พร้อมทั้งจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาหรือส่งต่อ วิธีการปฏิบัติตนให้พ้นจากการเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อต่าง ๆ ให้ความรู้แก่ประชาชนถึงแนวทางการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุ อุบัติภัย ตลอดจนสร้างเสริมความมีน้ำใจและเอื้ออาทรต่อผู้พิการในชุมชนและร่วมกันฟื้นฟูสภาพผู้พิการ
            14. เอดส์ อสม. ให้ความรู้กับประชาชนให้ทราบถึงความสำคัญ และความจำเป็นในการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ ตลอดจนมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ ให้สามารถอาศัยอยู่ในชุมชนได้โดยชุมชนยอมรับ และไม่แพร่กระจายโรคเอดส์สู่คนในชุมชน


            องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐานทั้ง 14 องค์ประกอบนี้ ไม่จำเป็นต้องเริ่มทีเดียวพร้อมกันหมดทุกอย่าง อาจจะเริ่มในเรื่องที่ประชาชนคิดว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นจริง ๆ ของชุมชนของตนเองก่อน แล้วภายหลังต่อมาก็ขยายต่อไปได้อีก และถ้าหากชุมชนใดไม่มีปัญหาในบางเรื่องเหล่านี้ องค์ประกอบที่ดำเนินการก็อาจลดลงได้ตามสภาพของความเป็นจริงของชุมชนนั้น